บทที่ 1


บทที่ 1

บทนำ
1. ความเป็นมาของโครงการ
สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่าน จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวชั้นเลิศแห่งหนึ่งของโลก ชีวิตคนไทยในอดีตล้วนผูกพันกับสายน้ำ อีกทั้งยังมีชายฝั่งทะเลเหยียดยาวทั้งด้านอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน อันเป็นแหล่งอาหารประเภทปลานานาชนิดซึ่งเป็นที่มาของคำพังเพยเปรียบเปรยถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารการกินของไทยว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"
              ประเพณีการรับประทานอาหารของภาคเหนือ ซึ่งคนไทยในภาคเหนือส่วนใหญ่ ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด ด้วยการจัดอาหารใส่ถ้วยเล็กๆ วางลงไปบนโตก ลักษณะโตกอาจทำด้วยไม้ มุก หรือทองเหลือง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของเจ้าของบ้าน เรียกว่า สำรับอาหารคาว ข้างโตกยังมีข้าวเหนียว ใส่ในกระติบทรงสูง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาค เหนือ นอกโตกยังมีคนโทดินใส่น้ำเย็น มีขันเงิน สำหรับใส่น้ำดื่ม หลังอาหารคาว จะมีโตกอาหารว่างตามมา
 โดยทั่วไปหลายคนรู้จักและเคยทานแล้วแต่ละหลายคนไม่เคยรู้จักและไม่เคยทาน เราเลยจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อ  เพื่อให้ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ น้ำพริกภาคเหนือ  ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร เป็นวัตถุดิบที่หาง่าย  สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดโดยทั่วไป เนื่องจากหนึ่งในสมาชิกกลุ่มของข้าพเจ้าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด จึงอยากนำเสนออาหารพื้นเมืองของชาวล้านนาภาคเหนือ ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากอาหารพื้นเมืองทั่วไป     จึงนำเสนอเมนูน้ำพริกประจำภาคเหนือ เมนูนี้เป็นเมนูที่กลุ่มของข้าพเจ้ากลุ่มของข้าพเจ้าอยากจะเผยแพร่เมนูอาหาร และขั้นตอนวิธีการปรุงอาหาร คือ น้ำพริกอีเก๋ น้ำพริกน้ำปู น้ำจิ้นหมู ล้านนาของชาวเชียงใหม่ ภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย   ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นการการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงการทำน้ำพริก
                โครงงานเรื่อง น้ำพริกภาคเหนือ นี้จัดทำขี้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รู้ วัฒนธรรมล้านนา  และวิธีการทำที่ถูกวิธี ตามแบบฉบับของชาวล้านนา ดั้งเดิม

2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
          2.1 เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับน้ำพริกภาคเหนือ
          2.2 เพื่อศึกษาวัฒนธรรมอาหารของชาวล้านนา
          2.3 เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำน้ำพริกน้ำพริกอีเก๋ น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกจิ้นหมู

3. ขอบเขตของโครงงาน
สร้างสื่อวีดีทัศน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกภาคเหนือ โดยใช้โปรแกรม Sony vegas  ในการตัดต่อวีดีทัศน์

4. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
          1. ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำพริกภาคเหนือ
          2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์
          3. ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทำให้เกิดประโยชน์ 
          4.ได้รับความรู้เรื่องการตัดต่อวิดีโอโดยโปรแกรม Sony vegas
          5.ได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น