เค้าโครงโครงงาน

แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รายวิชา โครงงานคอมพิวเตอร์ ง.30253
 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
ปีการศึกษา
 2556
----------------------------------------------------
1. ชื่อโครงงาน    น้ำพริกอีเก๋  น้ำพริกน้ำปู  น้ำพริกจิ๊นหมู (ภาคเหนือ)
2. ประเภทของโครงงาน  (เลือก 1 โครงงาน)
               
ü โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
               
q โครงงานพัฒนาเครื่องมือ
               
q โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
                q โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน
               
q โครงงานพัฒนาเกม

3. ชื่อ สกุล  ผู้เสนอโครงงาน  
               
นางสาว กันตยา  ยมหา                                                   ชั้น  ม.6/5  เลขที่ 16
นางสาว อรกัญญา  เมธาอรรถพงศ์                                ชั้น ม.6/5  เลขที่ 35
นางสาว แพรไพลิน  ใจเอื้อน                                           ชั้น ม.6/5  เลขที่ 39
4. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงาน
                นางสาวดรุณี  บุญวงศ์
5. ชื่อครูที่ปรึกษาโครงงานร่วม (ถ้ามี)
               
-
6. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
    ภาคเหนือ มีเทือกเขาสูงทอดยาวขนานกันส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับที่ราบลุ่มแม่น้ำ      
มีอากาศค่อนข้างหนาว  อาชีพที่สำคัญในภาคเหนือคือการเพาะปลูก ได้แก่ ปลูกข้าวเป็นหลักเนื่องจากภูมิภาคนี้มีภูเขาสูง จะมีความชื้น และน้ำไหลจากภูเขาลงสู่ที่ราบเกือบตลอดปี จึงมีการทำการชลประทานขนาดเล็กๆ ตามเชิงเขา โดยการทำฝายปิดกั้นน้ำ สำหรับทำการเพาะปลูกพืชในฤดูแล้ง  พืชที่ปลูก กันมากได้แก่ถั่วเหลือง หอม กระเทียม  ผักต่าง ๆ เป็นการเพิ่มรายได้   
นอกเหนือไปจากการปลูกข้าว  คนเหนือจะรับประทานพืชผักซึ่งขึ้นเองตามธรรมชาติ  คล้ายกับภาคอีสาน  กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักปรุงอาหารโดยไม่ใส่น้ำตาล  แต่จะได้รับความหวานจากผักหรือเนื้อสัตว์ในส่วนผสมเน้นรสเค็มนำและเผ็ดเล็กน้อย
โดยทั่วไปหลายคนรู้จักและเคยทานแล้วแต่ละหลายคนไม่เคยรู้จักและไม่เคยทาน เราเลยจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อ  เพื่อให้ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ  น้ำพริกอีเก๋ น้ำพริกน้ำปู  น้ำพริกจิ๊นหมู  ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหาร เป็นวัตถุดิบที่หาง่าย  สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดโดยทั่วไป
                เนื่องจากหนึ่งในสมาชิกกลุ่มของข้าพเจ้าเป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิด จึงอยากนำเสนออาหารพื้นเมืองของชาวล้านนาภาคเหนือ ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากอาหารพื้นเมืองทั่วไป        จึงนำเสนอเมนูอาหารประจำภาคเหนือ ซึ่งเรียกเมนูนี้ว่า น้ำพริกอีเก๋  น้ำพริกน้ำปู  น้ำพริกจิ๊นหมู ซึ่งบุคคลที่กล่าวมาข้างต้นรับประกันความอร่อยเนื่องด้วยเป็นสูตรดั้งเดิมของชาวล้านนา หาทานยากมากในภาคกลาง หรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ เมนูนี้เป็นเมนูที่กลุ่มของข้าพเจ้าเชื่อว่าเกิน  90 เปอร์เซ็นคนในจังหวัดระยอง ไม่เคยลิ้มลองและรู้จัก น้ำพริกอีเก๋ แม้กระทั่งสมาชิกในกลุ่มก็ไม่รู้จัก น้ำพริกอีเก๋ มาก่อนเลยทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าอยากจะเผยแพร่เมนูอาหาร และขั้นตอนวิธีการปรุงอาหาร คือ น้ำพริกอีเก๋ ล้านนาของชาวเชียงใหม่ ภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย   ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นการการปฏิบัติงานต่างๆ รวมถึงการทำน้ำพริกอีเก๋  
                โครงงานเรื่อง น้ำพริกอีเก๋  น้ำพริกน้ำปู  น้ำพริกจิ๊นหมู นี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รู้ วัฒนธรรมล้านนา  และวิธีการทำที่ถูกวิธี ตามแบบฉบับของชาวล้านนา ดั้งเดิม
7. วัตถุประสงค์   
1.เพื่อศึกษา วัฒนธรรมการกินอาหารของชาวล้านนา
2.เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำ น้ำพริกอีเก๋ น้ำพริกน้ำปู  น้ำพริกจิ๊นหมู
8. หลักการและทฤษฎี
อาหารภาคเหนือ  ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด  ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร
ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ   เช่น  ผัก   ปลา   และนิยมใช้ถั่วเน่า
ในการปรุงอาหารคนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง
ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่งส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่  ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญขาดไม่ได้คือ   ดอกงิ้ว  ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง  ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้านที่มีกลิ่นหอม  หรืออย่างตำขนุนแกงขนุน  ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น   เช่น  ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม
 วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน
 การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia System)


<!--[if !vml]-->
<!--[endif]-->9. ขอบเขตของโครงงาน   
                วัสดุ อุปกรณ์
น้ำพริกอีเก๋
ส่วนประกอบ
<!--[if !supportLists]-->1.              <!--[endif]--> <!--[if !vml]-->
<!--[endif]-->มะเขือขื่นซอย                      5              ลูก
<!--[if !supportLists]-->2.              <!--[endif]-->แคบหมู                                 50           กรัม
<!--[if !supportLists]-->3.              <!--[endif]-->พริกขี้หนูสุก                         5              เม็ด
<!--[if !supportLists]-->4.              <!--[endif]-->กระเทียม                               10           กลีบ
<!--[if !supportLists]-->5.              กะปิ                                        1              ช้อยโต๊ะ
<!--[if !supportLists]-->6.              <!--[endif]-->น้ำมะนาว                             2              ช้อนโต๊ะ
<!--[if !supportLists]-->7.              <!--[endif]-->น้ำตาลทราย                          1              ช้อนโต๊ะ
<!--[if !supportLists]-->8.              <!--[endif]-->ผักสดตามใจชอบ

<!--[if !vml]--> <!--[endif]--> 

ขั้นตอน
<!--[if !supportLists]-->1.             <!--[endif]-->โขลกพริกขี้หนู กระเทียม และกะปิ รวมกันให้ละเอียด
<!--[if !supportLists]-->2.             <!--[endif]-->ใส่แคบหมูโขลกรวมกัน
<!--[if !supportLists]-->3.             <!--[endif]-->ใส่น้ำตาลทราย น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน เติมน้ำเล็กน้อย
<!--[if !supportLists]-->4.             <!--[endif]-->ใส่มะเขือขื่น คนให้เข้ากัน

เคล็ดลับในการปรุง / เลือกส่วนผสม
ใช้มะเขือขื่นแก่ มีสีเหลือง จะมีสีสันให้กับน้ำพริก ใช้พริกขี้หนูสวน จะทำให้น้ำพริกมีกลิ่นหอม

<!--[if !vml]--><!--[endif]--> น้ำพริกน้ำปู

ส่วนประกอบ
1.พริกขี้หนู                   20           เม็ด
2. กระเทียม                  10           กลีบ
3.หอมแดง                    5              หัว
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->4.ตะไคร้ซอย                1              ช้อนโต๊ะ
5.น้ำปู                            1              ช้อนโต๊ะ
6.เกลือ                           ½             ช้อนโต๊ะ

7.   ผักสดตามใจชอบ


ขั้นตอน
<!--[if !vml]--><!--[endif]-->1.โขลกเกลือ  ตะไคร้  กระเทียม และหอมแดง รวมกันให้ละเอียด
2.โขลกพริกขี้หนูรวมกัน
3. ใส่น้ำปูคลุกเคล้าให้เข้ากัน

  
<!--[if !vml]-->
<!--[endif]-->น้ำพริกจิ๊นหมู
ส่วนประกอบ
1.เนื้อหมู                               100         กรัม
2.พริกชี้ฟ้าย่างไฟ               2              เม็ด
3.หอมแดงย่างไฟ               3              หัว
4.กระเทียมย่างไฟ               5              กลีบ
5.เกลือ                                   ½             ช้อนชา
6. ผักสดตามใจชอบ

ขั้นตอน
1.ต้มหมูสับ ใส่น้ำเล็กน้อย พอสุก ตักขึ้นพักไว้
2.โขลกพริก หอมแดง กระเทียม รวมกันให้ละเอียด
3.ใส่หมูสับ โขลกให้เข้ากัน
4.เติมน้ำต้มหมูพอให้ขลุกขลิก คนให้เข้ากัน

เคล็ดลับในการปรุง/เลือกส่วนผสม
<!--[if !vml]-->
<!--[endif]-->บีบมะนาวใส่หมูสับก่อนนำลงต้ม จะทำให้หมูสับนิ่ม

10. ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ที่
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเวลาดำเนินงาน
เดือนมิถุนายน
เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
สัปดาห์ที่
1
2
3
4
1
2
3
4
1
2
3
4
1
คิดหัวข้อโครงงาน
ü











2
ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล

ü










3
จัดทำโครงร่างเพื่อนำเสนอ


ü









4
ปฏิบัติการจัดทำโครงงาน



ü








5
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
1




ü







6
นำเสนอรายงานความก้าวหน้า
ของโครงงานครั้งที่
2





ü






7
ปรับปรุง ทดสอบ






ü





6
จัดทำเอกสารรายงานโครงงาน







ü




8
ประเมินผลงาน








ü



9
นำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน











ü

11. สถานที่ดำเนินงาน 
      บ้านนางสาวกันตยา    ยมหา                 

 12. งบประมาณ
                500  บาท

13. ผลที่คาดว่าจะได้รับ  
1.  ผู้สนใจได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำมาเป็นบทเรียน เรื่อง วัฒนธรรมการกินของชาวล้านนา น้ำพริกอีเก๋
น้ำพริกน้ำปู  น้ำพริกจิ๊นหมู
2. ผู้สนใจได้ทราบขั้นตอนการทำน้ำพริกอีเก๋ และเคล็ดลับเพิ่มความอร่อยจากชาวล้านนาโดยแท้
14. เอกสารอ้างอิง
               

                                                                                ลงชื่อ อรกัญญา  แพรไพลิน  กันตยา                                                                                                                       
                                                                  (       นางสาว อรกัญญา  เมธาอรรถพงศ์
                                                                           นางสาว แพรไพลิน  ใจเอื้อน
                                                                           นางสาว กันตยา  ยมหา                     )

                                                                                               ผู้เสนอโครงงาน

                                                                              ลงชื่อ    ดรุณี  บุญวงค์
                                                                                     (นางสาวดรุณี  บุญวงค์)
                                                                                      ครูที่ปรึกษาโครงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น