บทที่ 2



บทที่ 2

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาเรื่องน้ำพริกภาคเหนือ ผู้จัดทำโครงการได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 พริกและที่มาของน้ำพริก
2.2 การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
2.1 พริกและที่มาของน้ำพริก
คนไทยรู้จักปลูกพริก และมีวิธีบริโภคพริกหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะสด แห้ง ดอง เผา และแกง และมักแบ่งพริกออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เผ็ดมาก ซึ่งได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูไทย และพริกเหลือง กับกลุ่มที่เผ็ดน้อย ซึ่งได้แก่ พริกหยวก พริกชี้ฟ้า และพริกฝรั่ง

                ถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับพริกดีเสียจนทำให้คิดไปว่า พริกเป็นพืชพื้นเมือง แต่นักประวัติพฤกษศาสตร์ได้พบว่า ถิ่นกำเนิดของพริกคือ ทวีปอเมริกากลาง และใต้ และจากที่นั่นนักผจญภัยก็ได้นำพริกมาปลูกเผยแพร่ในยุโรปแล้วจากยุโรปพริกก็ถูกนำไปปลูกกันแพร่หลายทั่วโลก
                หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า ชาวอินเดียนใน Mexico รู้จักบริโภคพริกเป็นอาหารมานานร่วม 9,000 ปีแล้ว เพราะอุจจาระที่เป็นก้อนแข็งที่พบที่เมือง Huaca Prieta มีซากเมล็ดพริกที่มีอายุประมาณ 9,000 ปี การศึกษาวิถีชีวิตของชนเผ่า Olmec, Toltec และAztec ต่างก็แสดงให้รู้ว่า ชาวอินเดียนเหล่านี้รู้จักปลูกและบริโภคพริกเช่นกัน นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์ยังได้ขุดพบซากของต้นพริกที่มีอายุกว่า 2,000 ปี ในเทวสถานของเปรูด้วย หรือแม้แต่ลายปักเสื้อผ้าของคนอินเดียนที่อาศัยอยู่ในเปรู เมื่อ 1,900 ปีก่อน ก็มีลวดลายปักเป็นต้นพริก
                ในปี 2036 นักประวัติศาสตร์ชื่อ Peter Martyr ได้รายงานว่า พริกแดงที่ Columbus นำมาจากอเมริกามีรสเผ็ด และแพทย์ที่ติดตามColumbus ไปอเมริกาเป็นครั้งที่สองในปี 2037 ก็ได้กล่าวถึงชาวอินเดียนว่า นิยมปรุงอาหารด้วยพริก และเมื่อกองทัพสเปนบุกอาณาจักร Aztec นายพล Cortez ได้เขียนจดหมายเล่าว่า กษัตริย์ Aztec ทรงโปรดเสวยพระสุคนธรสที่มีพริกปน
                คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของพริกคือ มีรสเผ็ด และการมีคุณสมบัติที่ดุเดือดรุนแรงนี้เองที่ทำให้ชาวอินเดียนนิยมใช้พริกทรมานเชลยหรือศัตรู เช่น เผาพริกปริมาณมากให้ควันพริกขับไล่ทหารสเปน ส่วนชาว Maya ก็มีประเพณีว่า ผู้หญิง Maya คนใดเวลาถูกจับได้ว่าแอบดูผู้ชาย จะถูกพริกขยี้ที่ตา และบิดามารดาของผู้หญิง Maya คนใดถ้ารู้ว่า บุตรสาวของตนเสียพรหมจรรย์อย่างผิดประเพณี "บริเวณลับ" ของเธอจะถูกละเลงด้วยพริก สำหรับชาวอินเดียนเผ่า Carib ใน Antilles นั้น ก็นิยมใช้พริกทาบาดแผลของเด็กผู้ชายเพื่อฝึกให้อดทน และเวลาจับเชลยได้ ชาวอินเดียนเผ่านี้ก็จะใช้ไฟจี้ตามตัวจนเป็นแผลพุพองแล้วเอาพริกทา และเมื่อเชลยเสียชีวิตลงเนื้อของเชลยก็จะถูกแล่เอาไปปรุงด้วยพริกเป็นอาหาร เป็นต้น
                นักประวัติศาสตร์ชื่อ Francisco Hernandez ซึ่งเป็นแพทย์ในกษัตริย์ Philip ที่ 2 แห่งสเปน และได้เคยถูกส่งตัวไปศึกษาธรรมชาติของพืชและสัตว์ในดินแดนใหม่ (อเมริกา) ก็ได้รายงานกลับมาว่า ชาวอินเดียนนิยมปลูกพริกมาก ส่วน P. Bernabe Cobo ผู้ใช้เวลาสำรวจอเมริกานาน 50 ปี ในศตวรรษที่ 20-21 ก็ได้รายงานทำนองเดียวกันว่า ชาวอินเดียนในเม็กซิโกนิยมปลูกพริก โดยได้เขียนลงในหนังสือ Historia ว่า ชาวอินเดียนถือว่าพริกเป็นพืชที่สำคัญรองจากข้าวโพด เพราะชอบบริโภคพริกสด และใช้พริกในพิธีสักการะบูชาเทพเจ้าทุกงาน แต่เมื่อถึงเทศกาลอดอาหาร คนอินเดียนเหล่านี้จะไม่บริโภคอาหารที่มีพริกปนเลย Cobo ยังกล่าวเสริมว่า ไม่เพียงแต่ผลพริกเท่านั้นที่เป็นอาหาร แม้แต่ใบพริกก็ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ด้วย และสำหรับ Garcilaso de la Vega ผู้เป็นบุตรของขุนนางสเปนนั้น ก็ได้เล่าว่า ชาวอินคาถือว่าพริกเป็นผลไม้ที่มีคุณค่ามาก เพราะอาหารอินคาจะมีพริกปนไม่มากก็น้อย นอกจากนี้หมอชาวบ้านของชนเผ่านี้ก็มีความรู้อีกว่า ใครก็ตามที่บริโภคพริกในปริมาณที่พอดี ระบบขับถ่ายของคนคนนั้นจะทำงานปกติ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไป กระเพาะจะเป็นอันตราย Alexander von Humboldt นักปราชญ์ชาวเยอรมันก็เป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปอเมริกาเป็นเวลานานหลายปี และได้เปรียบเทียบความสำคัญของพริกว่าคนยุโรปถือว่า เกลือมีความสำคัญต่อชีวิตเพียงใด คนอินเดียนก็ถือว่าพริกมีความสำคัญต่อเขาเพียงนั้น
                การศึกษาประวัติการเดินทางของพริกจากทวีปอเมริกาสู่โลกภายนอก ทำให้เรารู้ว่า Alvarez Chanca ชาวสเปนเป็นบุคคลแรกที่นำพริกสู่ประเทศตน ในปี 2036 และคนสเปนเรียกพริกว่า Chili ซึ่งเป็นคำที่แปลงมาจากคำ Chile อันเป็นชื่อของประเทศที่ให้กำเนิดพริกในอเมริกาใต้ และอีก 55 ปีต่อมา ชาวอังกฤษก็เริ่มรู้จักพริก เมื่อถึงปี 2098 บรรดาประเทศต่างๆ ในยุโรปกลางก็เริ่มรู้จักปลูกพริกกันแล้ว และเมื่อถึงปี 2300 พ่อค้าชาวโปรตุเกสก็ได้นำพริกจากยุโรปไปปลูกในอินเดีย และเอเชียอาคเนย์
                นักชีววิทยาจัดพริกอยู่ในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของมะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ และให้พริกอยู่ในสกุล Capsicum ซึ่งมาจากคำว่า Kapto ที่แปลว่า กัดกร่อน แต่นักภาษาศาสตร์บางคนคิดว่า รากศัพท์ที่แท้จริงของคำคำนี้คือ capsa ซึ่งแปลว่า กล่อง ถึงความคิดเห็นเรื่องที่มาของชื่อจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็ยอมรับในประเด็นเดียวกันว่า พริกมีรสเผ็ด แม้แต่ชาว Maya ก็เรียกพริกว่าHuuyub ซึ่งแปลว่า สูดปาก หลังจากที่ได้กินพริกเข้าไป การศึกษาคุณสมบัติด้านเภสัชวิทยาของพริก ทำให้เรารู้ว่าแพทย์ในอดีตเคยใช้พริกเป็นยารักษานานาโรค เช่น โรคบวม เสียดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อหิวาต์ อาหารไม่ย่อย ปวดหัว ปวดประสาท ปวดตามข้อ ท้องร่วง กระเพาะอักเสบ แก้เมาคลื่น โรคหวัด ลดน้ำมูก ป้องกันการติดเชื้อ ลดอาการไขมันอุดตันของเส้นเลือด ลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง บรรเทาอาการปวด ทำให้มีอารมณ์ดี และใช้เป็นยาไล่แมลงก็ยังได้ด้วย
                ส่วนนักโภชนาการได้พบว่า พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู และพริกหวานต่างก็มีวิตามิน C เช่น ในเนื้อพริก 100 กรัม จะมีวิตามิน C ตั้งแต่ 87-90มิลลิกรัม และมี betacarotene (หรือวิตามิน A) ซึ่งช่วยให้สายตาดีด้วย

                นักชีวเคมีได้วิเคราะห์พบว่า รสเผ็ดของพริกเกิดจากสาร capsicin ที่แฝงอยู่ในบริเวณรก (placenta) ของผล แต่ไม่อยู่ในเนื้อและเปลือกพริก การวิเคราะห์โครงสร้างเคมีของ capsicin ทำให้รู้ว่ามันมีชื่อ 8-methyl-n-vanillyl-6-noneamide ซึ่งมีสูตร C18 H23 NO3 มีน้ำหนักโมเลกุล 305.46 มีจุดหลอมเหลว 65 องศาเซลเซียส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ได้ดี นอกจากนี้มันยังมีสมบัติทนความร้อน ความเย็นได้ดีด้วย ดังนั้น การต้มหรือการแช่แข็งจะไม่ทำให้พริกเผ็ดน้อยลงหรือมากขึ้นแต่อย่างใด และถ้าต้องการจะแก้รสเผ็ด ผู้สันทัดกรณีแนะนำว่า น้ำหรือเบียร์ก็พอช่วยได้บ้าง แต่ถ้าจะให้ดีให้กินอาหารที่มีไขมัน หรือเครื่องดื่มที่มี ethonol มาก ก็จะช่วยได้ดีขึ้น และถ้าพริกมีรสขม นั่นก็เพราะคนกินได้เคี้ยวเมล็ดพริก


2.2 การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
สื่อที่นิยมใช้ในงานประชาสัมพันธ์มากกว่าสื่ออื่นใด ในปัจจุบันนี้ก็คือ สื่อวีดีทัศน์ วีดีทัศน์ หรือ วิดีโอ (Video) เป็นการนาเอาโทรทัศน์ (Television) หรือเนื้อหาทางวิชาการ นโยบาย การประมวลกิจกรรมการดาเนินงาน มาจัดทาเป็นรายการสั้น ๆ ใช้เป็นสื่อเพื่อการนาเสนอ การอธิบาย การสอน หรือเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งตามความต้องการของผู้ผลิต วีดีทัศน์เป็นผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการทางานอย่างมีระบบของคณะทางาน ซึ่งจะเรียกเป็นผู้ผลิต หน่วยผลิต ฝ่ายผลิต หรือบริษัทผลิตรายการ (Prodution House) เพื่อให้ได้มาซึ่งงานวีดีทัศน์ ตามความประสงค์ของงานหรือองค์กร กระบวนการดังกล่าวเรียกเป็นกระบวนการผลิตรายการซึ่งมีเทคนิคขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การวางแผนการผลิต (Planning)
ในขั้นตอนนี้เป็นการระดมความคิด ความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ผู้ผลิตรายการ ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายเนื้อหา ผู้ออกแบบฉากเวที และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชุมปรึกษาถึงประเด็นการผลิตรายการว่าจะผลิตให้ใครดู หมายถึง กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ดู ผู้ชม และในการผลิตรายการนั้นจะแสดงถึงอะไรบ้าง จะให้ผู้ชมได้รู้ ได้เห็นเกี่ยวกับอะไร ประเด็นสุดท้ายในการวางแผนก็คือ ผลิตรายการออกมาแล้วคาดหวังผลอย่างไร หรือเพื่อจุดประสงค์อะไรบ้าง
2. การเขียนบท (Script)
บทโทรทัศน์ หรือ บทวีดีทัศน์ เป็นการนาเอาเนื้อหาเรื่องราวที่มีอยู่หรือจินตนาการขึ้นมา เพื่อการนาเสนอให้ผู้ดู ผู้ชม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ผู้เขียนบทวีดีทัศน์ (Script Writer) จึงจาเป็นต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ มีความเข้าใจในธรรมชาติการรับรู้ของมนุษย์ ความศรัทธา สิ่งละอันพันละน้อย ที่จะไปทาให้กระทบกระทั่ง หรือกระทาในสิ่งที่ผิดไปจากที่สังคมยอมรับ บทวีดีทัศน์ควรจะมีการใช้ภาษาที่สละสลวย ชวนอ่าน ชวนฟัง มีการเกริ่นนา การดาเนินเรื่องและบทสรุปที่กระชับ สอดคล้องกัน รู้จักสอดแทรกมุขตลกเกร็ดความรู้ หรือเทคนิคแปลก ๆ มีลีลาที่น่าสนใจ เพื่อเป็นสีสันของเรื่องราว การเขียนบทวีดีทัศน์จะมีทั้งการร่างบทวีดีทัศน์และการเขียนบทวีดีทัศน์ฉบับสมบูรณ์ ร่างบทโทรทัศน์เป็นการวางโครงเรื่อง (Plot) ของรายการแต่ละรายการ ปกติจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเกริ่นนา (Introduction) เนื้อเรื่องหรือตัวเรื่อง (Body) และการสรุปหรือการส่งท้าย (Conclusion) การเขียนร่างบทจะเป็นการกาหนดเรื่องราวที่นาเสนอ นาเอาแก่นของเรื่อง (Theme) หรือความคิดรวบยอด (Concept) ของเรื่องมาคลี่คลาย มาขยายให้เห็นอย่างเป็นขั้นตอน มีการสอดแทรกอารมณ์ มีการหักมุม สร้างความฉงน นาเรื่องราวไปสู่จุดสุดยอด (Climax) ให้ได้ดีที่สุดร่างบทวีดิทัศน์เขียนเป็นความเรียง ที่ใช้ภาษาสละสลวย ทันสมัย สอดแทรกสาระ เกร็ดความรู้และสร้างความประทับใจ อาลัยอาวรณ์ ในที่สุด บทวีดีทัศน์ฉบับสมบูรณ์ (Full Script) หรือเรียกเป็นบทสาหรับถ่ายทา (Shooting Script) เป็นการนาเอาร่างบทมาขยายอย่างละเอียด ในลักษณะของการถ่ายทา ซึ่งจะมีลักษณะของภาพขนาดของภาพ กาหนดกล้องและการแสดงของผู้แสดง หรือ เหตุการณ์นั้น อย่างสมจริงคณะทางาน หรือผู้ผลิตรายการจะยึดการปฏิบัติงานตามบทวีดีทัศน์นี้ แต่ลักษณะที่เป็นจริงบท วีดีทัศน์อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบทบ้าง ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์นั้น
3. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ (Preparation)
ในการเตรียมเพื่อการผลิตรายการนั้น คณะทางานจะเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีส่วนเอื้ออานวยต่อการทางาน เครื่องมือ อุปกรณ์ ในการถ่ายทา เตรียมสถานที่ เตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งพร้อมที่จะทางานได้ทันทีในกรณีที่ มีการเสริมแต่ง หรือแก้ไขปัญหาการถ่ายทา เพราะความไม่พร้อมของเรื่องราวเหตุการณ์และสถานที่ยิ่งต้องมีการเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพื่อจาลองสถานการณ์ให้สมจริง เท่าที่จะทาได้ให้ดีที่สุด
4. การบันทึก (Recording)
กระบวนการถ่ายทา จะดาเนินไปตามแผนที่ได้วางไว้ และถ่ายทาตามบท โดยมุ่งให้ได้ภาพตรงตามความต้องการมากที่สุด อาจจะถ่ายทาหลาย ๆ ครั้ง ในฉากใดฉากหนึ่ง เพื่อมาคัดเลือกหาภาพที่ดีในตอนจะตัดต่ออีกครั้งหนึ่ง ในการบันทึกแบ่งเป็น บันทึกภาพและบันทึกเสียงซึ่งการบันทึกภาพนั้นจะได้ทั้งภาพทั้งเสียงอยู่แล้ว เมื่อตัดต่อสามารถเลือกได้ว่า ช่วงไหนจะใช้แต่ภาพ หรือใช้ทั้งภาพและเสียง การบันทึกภาพ บันทึกหรือถ่ายทาตามสภาพความเป็นจริง และความจาเป็นก่อนหลัง ไม่จาเป็นต้องเรียงฉาก ตามบทวีดีทัศน์ (Script) ในการบันทึกเสียง จะบันทึกทั้งเสียงเหตุการณ์จริง เสียงสัมภาษณ์ เสียงสนทนา เสียงบรรยาย เสียงเพลงประกอบ และเสียงเหตุการณ์หรือเสียงที่นามาใช้เป็นเอฟเฟค (Sound Effect) ให้เรื่องราวน่าสนใจซึ่งกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องเสียง จะมีการผสมเสียงอีกครั้งหนึ่ง ในกระบวนการตัดต่อภาพและเสียง
ข้อสาคัญในการทาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อวีดีทัศน์ในการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อจุดมุ่งหมายใด ๆ ก็ตาม คณะทางานควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้องาน นโยบายและกิจกรรมขององค์กร พื้นฐานของงานโทรทัศน์ หรือ การทาวีดีทัศน์ไว้บ้าง เพื่อการสร้างงาน การคิดสร้างสรรค์ จะได้หลากหลาย น่าสนใจ และที่สาคัญจะช่วยให้งานดาเนินไปได้อย่างราบรื่น บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ควรรู้ ควรเข้าใจมีมากมาย อาทิ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เทคนิคกล้อง ชนิดของภาพ การลาดับภาพและตัดต่อภาพ การนาเสียงมาใช้ในงานวีดีทัศน์ตลอดจนการใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์

ข้อควรจำในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อวีดีทัศน์
           เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สื่อวีดีทัศน์ เป็นสื่อที่มีความพร้อมในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งได้รวบรวมเอาความโดดเด่นของรูปแบบ และแนวทางการนาเสนอที่สมบูรณ์ครบถ้วนไว้ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ คอมพิวเตอร์กราฟิก และเทคนิคพิเศษอีกมากมายหน่วยงานหรือองค์กรใด จะผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ นอกจากจะเข้าใจถึงคุณสมบัติที่น่าสนใจดังกล่าวแล้ว ควรพิจารณาถึงประเด็นเรื่องราวต่าง ๆ เช่น
จะผลิตสื่อวีดีทัศน์ สาหรับกลุ่มเป้าหมายใด การผลิตวีดีทัศน์ ควรเลือกให้เหมาะกับกลุ่มผู้ดูผู้ชม เพราะเนื้อหาเรื่องราว จะมีความเข้มข้น หรือละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกัน
การผลิตสื่อวีดีทัศน์ต้องการแสดงถึงเนื้อหาสาระมากน้อยแค่ไหน ประเด็นของเรื่องราวหรือแก่นแท้ (Theme) จะแสดงถึงอะไรบ้าง
การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์นี้ คาดหวังผลอะไรบ้าง ถ้าหากรู้ถึงวัตถุประสงค์หรือความคาดหวังถึงผลที่ได้จากสื่อที่ผลิต จะช่วยให้เนื้อหาเรื่องราวในวีดีทัศน์ตรงประเด็นได้มากขึ้น
ในกระบวนการผลิตวีดีทัศน์ได้มีการประสานงานกับบุคลากรระดับสูงผู้บังคับบัญชา หรือผู้เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดเพื่อความเข้าใจในเรื่องราวเพื่อความถูกต้องและการประสานสัมพันธ์ที่ดีในการทางาน
ผู้ผลิตควรเข้าใจถึงประเด็นในการทาวีดีทัศน์ ถึงความเหมาะสมของเรื่องราวความโดดเด่น หรือความน่าจะเป็นของการเลือกสิ่งที่นาเสนอ ทั้งบุคลากร สถานที่กิจกรรมหรือเหตุการณ์ตลอดจนข้อมูลต่างๆ พยายามหามุมมองที่มีคุณค่า เลือกสิ่งที่น่าสนใจออกมานาเสนอซึ่งบางครั้งอาจมีการเสริมแต่งบ้างก็ควรต้องเลือก ต้องพยายาม เพื่อให้ได้สื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ
คณะทางานควรเปิดใจกว้าง ในการวิพากษ์และตรวจทานผลงาน เพื่อจะได้ปรับปรุงและสรรค์สร้างงานให้มีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น